วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554



ข้าวโพดหวาน

ประเด็นเทคโนโลยีที่ควรถ่ายทอด
1 การจัดการผลิตข้าวโพดหวานที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานของตลาดหรือโรงงาน
อตุสาหกรรม
2 ผลผลิตข้าวโพดหวานให้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
เนื้อหา
1. การจัดการผลิตข้าวโพดหวานที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานของตลาดหรือโรงงานอตุสาหกรรม
1.1 การเลือกพันธุ์
พันธุ์ส่งเสริม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.1.1 พันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ ฮาวายเอื้อนซูการ์ซุปเปอร์สวี ซุปเปอร์สวีทดีเอ็มอาร์
และไทยซุปเปอร์คอมพอสิต 1 ดีเอ็มอาร์ จุดเด่น คือเกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดใช้ทำพันธุ์ต่อได้ จุดด้อย ลักษณะทางการเกษตรไม่สม่ำเสมอ
1.1.2 พันธุ์ลูกผสม ได้แก่ เอทีเอส 2 ซูการ์ 74 ซูการ์ 73 ไฮบริกซ์ 3 ไฮบริกซ์ 10 อินทรีย์ 2 พันธุ์หวานทองจุดเด่น ลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ความสูงของต้น ความสูงของฝัก ขนาดฝัก อายุวันออกไหมและเก็บเกี่ยวพร้อมกัน ให้ผลผลิตสูงตั้งแต่ 1.5 - 2 ตัน จุดด้อย ไม่สามารถ
เก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้
1.2 การปลูกและดูแลรักษา
1.2.1 การวิเคราะห์ดินก่อนปลูก
ถ้าดินมีความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 5.5 ให้ใส่ปูนขาวอัตรา 100 - 200 กิโลกรัมต่อไร่ แล้ว
ไถพรวนดิน และถ้าดินมีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1.5 ก่อนพวนดินให้ใส่ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้วอัตรา 500 - 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปลูกถั่วเขียวอัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่ หรือปลูกถั่วพร้าอัตรา 8-10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือหลังเก็บผักข้าวโพดหวานแล้วไถกลบต้นข้าวโพด เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน
1.2.2 การเตรียมดินบนพื้นที่ราบ
ทำการไถด้วยพาลสาม 1 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7-10 วัน พรวนดินด้วยผาลเจ็ดอีก 1 ครั้ง เพื่อย่อยดินและปรับพื้นที่ให้เรียบ แล้วไถยกร่องพร้อมปลูกสูง 25-30 เซนติเมตร ถ้าปลูกแถวเดี่ยวให้มีระยะระหว่างร่อง 75 เซนติเมตร ระหว่างหลุม 25 เซนติเมตร ถ้าปลูกแถวคู่ระหว่างร่องระยะห่าง 120 เซนติเมตร ระยะห่างหลุม 25 เซนติเมตร
1.2.3 การเตรียมดินปลูกบนร่องสวน
เป็นการปลูกบนร่องสวนในที่ลุ่ม โดยยกร่องกว้าง 4-5 เมตร ความยาวตามพื้นที่ใช้
รถไถดินเดินตามหรือใช้จอบพลิกหน้าดินลึก 15-20 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยคอก 500 - 1,000 กิโลกรัม/ไร่ แล้วย่อยดินด้วยแรงคน จึงปลูกโดยใช้ระยะปลูก ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระหว่างหลุม 50 เซนติเมตร หลอดหลุมละ 2-3 เม็ด อายุ 14 วัน ถอนเหลือ 2 ต้น/หลุม
1.3.4 การใส่ปุ๋ย
ในกรณีการวิเคราะห์ดินแล้ว พบว่า ดินมีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1.5 ให้ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะเตรียมดิน และให้ปุ๋ย 2 ระยะ คือ
1) ใส่รองพื้นพร้อมปลูก ในดินร่วนใช้สูตร 16-20-0 สำหรับดินร่วนปนทรายใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่
2) ใส่เมื่อข้าวโพดหวานอายุ 20 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นหรือข้างแถว แล้วพรวนดินกลบ
2.3.5 การให้น้ำ
ให้ทันทีหลังปลูกข้าวโพดหวาน หรือหลังใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ในช่วงผสมเกษร และติดเมล็ดอย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้คุณภาพไม่ดี ผลผลิตลดลง
1) แบบพ่นฝอย ให้ทุก 7-10 วัน ในฤดูแล้งให้ทุก 3-5 วัน
2) การให้น้ำตามร่อง ให้ทุก 7-10 วัน ในฤดูแล้งดินร่วนปนทรายทุก 3-5 วัน

2. ผลผลิตข้าวโพดหวานให้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
ศัตรูของข้าวโพดฝักหวานและการป้องกันกำจัด
โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
โรคราน้ำค้างหรือใบลาย
สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ ระบาดรุนแรงในระยะต้นอ่อนอายุประมาณ 1 เดือน ทำให้ยอดมีข้อถี่ ต้นแคระแกรน ใบเป็นทางสีขาว สีเขียวอ่อน หรือสีเหลืองอ่อนไปตามความยาวของใบ พบผงสปอร์สีขาวเป็นจำนวนมากบริเวณใต้ใบในเวลาเช้ามืดของคืนที่มีฝนตกและอากาศค่อนข้างเย็น ถ้าระบาด รุนแรง
ต้นจะแห้งตาย แต่ถ้าต้นอยู่รอดจะไม่ออกฝัก หรือติดฝักแต่ไม่มีเมล็ด เชื้อราติดไปกับเมล็ด สปอร์ปลิวไปตามลมและน้ำ
ช่วงเวลาระบาดรุนแรงในฤดูฝน ที่มีอุณหภูมิต่ำหรือความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด
- ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งและแปลงที่มีโรคระบาด
- ในแหล่งที่มีการระบาดของโรครุนแรงเป็นประจำ ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี
นครสวรรค์ พิจิตร พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี และนครปฐม ต้องคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่แห้งสนิท ถ้าความชื้นเมล็ดสูงกว่า 10% จะมีเชื้อโรคติดมากับเมล็ด
- ถอนต้นที่แสดงอาการเป็นโรค เผาทำลายนอกแปลงปลูก
- ทำลายพืชอาศัยของโรคก่อนปลูก เช่น หญ้าพง และหญ้าแขม เป็นต้น
สำหรับโรคราน้ำค้างหรือใบลาย ควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชคือเมตาแลกซิล (35 % ดีเอส) คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกปริมาณ 7 กรัม/เมล็ด 1 กิโลกรัม
โรคใบไหม้แผลเล็ก
สาเหตุ ชื้อรา
ลักษณะอาการ ระยะแรกเกิดจุดเล็ก ๆ สีเขียวอ่อนฉ่ำน้ำ ต่อมาแผลขยายไปตามเส้นใบเกิดเป็นแผลไหม้ บริเวณกลางแผลมีสีเทา ขอบแผลสีน้ำตาล ขนาดของแผลไม่แน่นอน ส่วนใหญ่เกิดกับใบล่าง เชื้อราติดไปกับเมล็ด สปอร์ปลิวไปตามลมและน้ำ
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในปลายฤดูฝน
การป้องกันกำจัด
- ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งแปลงที่มีโรคระบาด
- เก็บเศษซากพืชที่เป็นโรค เผาทำลายนอกแปลงปลูก
- พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช
สำหรับโรคใบไหม้แผลเล็ก ค วรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชคือ บาซิลัส ซับทิลิส ปริมาณ 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร โดยการพ่นเมื่อข้าวโพดหวานมีอายุ 7 วัน พ่นซ้ำทุก 5 วัน จำนวน 3 ครั้ง และหยุดการใช้สารก่อนเการเก็บเกี่ยว 1 วัน หรือ ไตรโฟรีน (20 % อีซี) ปริมาณ 60 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
ใช้พ่นเฉพาะบริเวณที่เป็นโรค
โรคราสนิม
สาเหตุ เชื้อรา
ลักษณะอาการ เกิดได้แทบทุกส่วนของต้นข้าวโพด ระยะแรกพบเป็นแผลจุดนูน
สีน้ำตาลแดง ขนาด 0.2-1.3 มิลลิเมตร ต่อมาแผลจะแตกเห็นเป็นผงสีสนิม ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ใบแห้งตาย
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในปลายฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว ที่มีอุณหภูมิต่ำ
และความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด
- เก็บเศษซากพืชที่เป็นโรคเผาทำลายนอกแปลงปลูก
- พ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
สำหรับโรคราสนิม ควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชคือ ไดฟีโนโคนาโซล (25 % อีซี) ปริมาณ 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร โดยการพ่นเมื่อเริ่มพบการทำลายเฉาพะบริเวณที่เป็นโรค
แมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
ลักษณะและการทำลายเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน สีทองแดง กางปีกกว้างประมาณ 3.0 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา หนอนเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ข้าวโพดหวานอายุ 20 วันถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยเจาะเข้าทำลายส่วนยอด ช่อดอกตัวผู้ และลำต้น ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต หักล้มง่าย เมื่อมีการระบาดรุนแรง จะเข้าทำลายฝัก พบการทำลายในแหล่งปลูกทั่วประเทศ โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี และลพบุรี
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลา
การป้องกันกำจัด
- ควรสำรวจกลุ่มไข่ หนอน รูเจาะ และยอดที่ถูกทำลายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงข้าวโพดหวานอายุ 20-45 วัน
- เมื่อเริ่มพบการทำลาย ควรทำการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชสำหรับหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด สามารถใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ ไซเพอร์เมทริน (15% อีซี) ปริมาณ 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรฟลูมูรอน (25 %ดับบริวพี) ปริมาณ 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
ใช้เมื่อพบยอดข้าวโพดหวานถูกทำลาย 30 % ในช่วงระยะก่อนออกดอกตัวผู้หรือพบหนอนเฉลี่ย 20-100 ตัวหรือรูเจาะ 50 รู ต่อข้าวโพด 100 ต้น และหยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 5 วัน และ 14 วัน
หนอนเจาะสมอฝ้าย
ลักษณะการเข้าทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง วางไข่ฟองเดี่ยว ๆ
ที่ช่อดอกตัวผู้ และเส้นไหมบริเวณปลายฝัก หนอนกัดกินเส้นไหม และเจาะเข้าไปอาศัยกัดกินปลายฝัก
ทำให้คุณภาพฝักเสียหาย พบการทำลายในแหล่งปลูกทั่วประเทศ ระยะข้าวโพดหวานเริ่มออกช่อดอกตัวผู้ โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี และลพบุรี
ช่วงเวลาการระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศร้อนชื้น
การป้องกันกำจัด
- ในพื้นที่ขนาดเล็ก ควรใช้มือจับทำลายหนอนที่ปลายฝัก
- ควรสำรวจหนอนที่ปลายฝักข้าวโพดหวานในระยะผสมเกสร ถ้าพบการทำลายควรพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช สำหรับหนอนเจาะสมอฝ้าย สามารถใช้ชีวิทรีย์หรือสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ นิวเคลียร์โอโพลีฮีโดรซีสไวรัส ปริมาณ 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร พ่นในเวลาเย็นสลับกับสารเคมีและหยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 1 วัน หรือ ฟลูเฟนนอกซูรอน (5 % อีซี) ปริมาณ 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ใช้พ่นเฉพาะฝักที่พบไหมถูกทำลาย เมื่อพบหนอนขนาดเล็ก 10-20 ตัวต่อ 100 ต้น พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน และหยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 7 วัน


เพลี้ยอ่อนข้าวโพด
ลักษณะและการเข้าทำลาย เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก ลักษณะกลมป้อมคล้ายผลฝรั่ง สีเขียวอ่อน มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ยาว 0.8-2.0 มิลลิเมตร ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอด ใบอ่อน ช่อดอกตัวผู้ ปลายไหมและฝัก ทำให้การติดเมล็ดไม่สมบูรณ์ ฝักลีบ ถ่ายมูลหวานทำให้เกิดราดำ คุณภาพฝักลดลง พบการทำลายในแหล่งปลูกทั่วประเทศ ระบาดมากในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี และลพบุรี
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- ถ้าพบการระบาดรุนแรงในระยะข้าวโพดหวานมีช่อดอกตัวผู้ ควรพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
สำหรับเพลี้ยอ่อนข้าวโพดสามารถใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ คาร์บาริล (85% ดับบลิวพี) ปริมาณ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ ไบเฟนทริน 10 % อีซี) ปริมาณ 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ใช้พ่นเฉพาะบริเวณที่เพลี้ยอ่อนลงทำลาย เมื่อพบความหนาแน่นของเพลี้ยอ่อนมากกว่า 5% องพื้นที่ใบทั้งต้น โดยเฉพาะระยะที่แทงช่อดอกตัวและหยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 4 วัน
มอดดิน
ลักษณะการเข้าทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นด้วงงวง สีเทาดำยาว ประมาณ 3.5 มิลลิเมตร กัดกินใบตั้งแต่เริ่มงอกถึงอายุประมาณ 14 วัน ทำให้ตัวอ่อนตายหรือชะงักการเจริญเติบโต ต้นที่รอดตายจะเก็บเกี่ยวได้ล่าช้า ระบาดในพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย ในแถบจังหวัดลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา อุทัยธานี นครสวรรค์และกำแพงเพชร
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- ปลูกข้าวโพดหวานในแหล่งที่มีน้ำเพียงพอ ควรหลีกเลี่ยงการปลูกในฤดูฝนช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน
- กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของแมลงรอบแปลงปลูก ได้แก่ ขี้กาลูกกลม ตีนตุ๊กแก เถาตอเชือก สะอึก หญ้าตีนติด และหญ้าขจรจบดอกเล็ก
- ในแหล่งที่พบการระบาดเป็นประจำ ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก
สำหรับมอดดิน สามารถใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช คือ อิมิดาโคลพริด (70 %ดับบริวพี) ปริมาณ 5 กรัม/เมล็ด 1 กิโลกรัม แล้วทำการคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก
หนอนกระทู้หอม
ลักษณะการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนสีน้ำตาลเข้มปนเทา กางปีกกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มสีขาวใต้ใบ มีขนสีครีมปกคลุม หนอนกัดกินทุกส่วนในระยะต้นอ่อน
จะทำความเสียหายรุนแรงเมื่อหนอนมีความยาวตั้งแต่ 2 เซนติเมตร พบระบาดมากในแหล่งปลูกจังหวัดราชบุรี และนครปฐม
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลาย
- ในแหล่งที่ระบาดเป็นประจำ ควรพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
สำหรับหนอนกระทู้หอม สามารถใช้ชีวิทรีย์หรือสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ นิวเคลียร์โอโพลีฮีโดรซีสไวรัส ปริมาณ 20-30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร พ่นในเวลาเย็น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน เมื่อพบหนอนเฉลี่ย 2-3 ตัวต่อต้น และหยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 1 วัน หรือ เบตาไซฟลูทริน (2.5 % อีซี) ปริมาณ 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้พ่นเมื่อพบหนอนเฉลี่ย 2-3 ตัวต่อต้น จำนวน 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน (ในแหล่งที่พบแตนเบียนหนอนบราโคนิค ไม่จำเป็นต้องใช้สาร) และหยุดการใช้สารก่อนการ
เก็บเกี่ยว 14 วัน
สัตว์ศัตรูพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
หนู
ลักษณะการทำลาย หนูเป็นสัตว์ฟันแทะ ศัตรูสำคัญชนิดหนึ่งของข้าวโพดฝักอ่อน ทำลายมากตั้งแต่เริ่มเป็นฝักอ่อนถึงเก็บเกี่ยว สกุลหนูพุกกัดโคนต้นให้ล้มแล้วกัดกินฝักอ่อน สกุลหนูท้องขาว เช่น หนูบ้านท้องขาว หนูนาเล็ก และสกุลหนูหริ่งจะปีนกัดแทะฝักอ่อนบนต้น
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในฤดูแล้ง โดยเฉพาะพื้นที่ไม่มีอาหารชนิดอื่น
การป้องกันกำจัด
- กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูกและพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู
- ใช้กรงดักหรือกับดัก
- เมื่อสำรวจพบร่องรอย รูหนู ประชากรหนู และความเสียหายอย่างรุนแรงของข้าวโพดฝักอ่อน ให้ใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสานคือใช้กรงดักหรือกับดัก ร่วมกับการใช้เหยื่อพิษ
20. ชนิดของสารกำจัดสัตว์ศัตรูที่สำคัญ
สารออกฤทธิ์เร็ว ที่นิยมใช้คือ ซิงค์ฟอสไฟต์ (80% ชนิดผง) ใช้ร่วมกับเหยื่อพิษ ประกอบด้วยสารซิงค์ฟอสไฟต์ ผสมปลายข้าวและรำข้าว อัตราส่วน 1:77:2 โดยน้ำหนัก ส่วนวิธีการใช้และข้อควรระวังคือใช้ลดประชากรหนูก่อนปลูก หรือเมื่อมีการระบาดรุนแรง โดยวางเหยื่อพิษเป็นจุดตามร่องรอยหนูหรือวางจุดละ 1 ช้อนชา ห่างกัน 5-10 เมตร ใช้แกลบรองพื้นและกลบเหยื่อพิษอย่างละ 1 กำมือ เนื่องจากเป็นเหยื่อพิษที่ทำให้หนูเข็ดขยาด จึงไม่ควรใช้บ่อยครั้ง ส่วนอัตราการใช้
สารออกฤทธิ์ช้า ที่นิยมใช้กันได้แก่ โฟลคูมาเฟน (0.005%) โปรมาดิโอโลน (0.005%) ไดฟิทิอาโลน (0.0025%) ใช้ร่วมกับเหยื่อพิษสำเร็จรูป (ชนิดขี้ผึ้ง) ก้อนละ 5 กรัม ส่วนวิธีการใช้และข้อควรระวัง ใช้ลดประชากรหนูที่เหลือหลังจากใช้สารออกฤทธิ์เร็ว โดยวางเหยื่อพิษในภาชนะตามร่องรอยหนูจุละ 15-20 ก้อน ห่างกัน10-12 เมตร เติมเหยื่อทุกสัปดาห์ และหยุดเติมเมื่อการกินเหยื่อน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์
สารป้องกันกำจัดสัตว์สัตรูข้าวโพดหวานทั้ง 2 ชนิด ใช้ได้กับสัตว์ศัตรูพืช ได้แก่ หนูพุกใหญ่ หนูพุกเล็ก หนูบ้านท้องขาว หนูนาใหญ่ หนูนาเล็ก หนูหริ่งนาหางขาว และหนูหริ่งนาหางสั้น
3. การเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้คุณภาพ
เส้นไหมยาว 1-3 เซนติเมตร จำนวน 50 % ของแปลง ให้นับเป็นวันที่ 1 แล้วว่างไปอีก 20 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ หรือสังเกตสีของเส้นไหมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ใช้แรงงานคนหักฝักให้ถึงบริเวณก้านฝักติดลำต้น ควรเก็บให้เสร็จภายใน 1-2 วัน เมื่อเก็บฝักแล้วให้นำข้าวโพดที่ร่มไม่ถูกแสงแดด หรือรับขนส่งไปตาลาดหรือโรงงานภายในเวลา 24 ชั่วโมง
คุณภาพและมาตรฐานข้าวโพดหวาน
1. ตรงตามสายพันธุ์
2. ความอ่อนแก่กำลังดี ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป
3. จำนวน 3-5 ฝักต่อกิโลกรัม
4. เมล็ดเต็ม ไม่เหี่ยว ลักษณะเปลือกเมล็ดบาง เมล็ดเรียงเป็นระเบียบ
5. เมล็ดสีเหลืองอ่อน ไม่มีสีอื่นปะปน
6. ไม่ถูกแมลงกัด ไม่เป็นโรค ไม่มีพันธ์อื่นปน ไม่เน่าเสียหรืออบร้อนจนเน่า
7. มีเปลือกหุ้มฝักได้ไม่เกิน 30% ของน้ำหนัก
ข้าวโพด
(Indian Corn หรือ Maize)

ข้าวโพด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซีเมส์ (Zea mays) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว ถิ่นกำเนิดก็คือ ได้มีการขุดพบซังข้าวโพดและซากของต้นข้าวโพดที่ใกล้แม่น้ำในนิวเม็กซิโก (แถบอเมริกาใต้) และปัจจุบันนิยมปลูกแพร่หลายในแถบอเมริกา แคนาดา ฯลฯ สามารถปลูกได้ในสภาพที่ภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ เพราะสามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ทั้งต้น ใบ และเมล็ด
สำหรับประเทศไทย คนไทยรู้จักนำข้าวโพดมาเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดย ม.จ.สิทธิพร กฤษดากร ได้นำข้าวโพดพันธุ์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์มาปลูกและทดลองใช้เลี้ยงสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่รู้จักกันน้อยในหมู่นักวิชาการ จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การใช้ข้าวโพดเริ่มแพร่หลายขึ้นในหมู่นักวิชาการ จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การใช้ข้าวโพดเริ่มแพร่หลายขึ้นในหมู่นักวิชาการ ทั้งนี้เนื่องจาก คุณหลวงสุวรรณ วาจกกสิกิจได้นำการเลี้ยงไก่แบบการค้ามาเริ่มสาธิต และกระตุ้นให้ประชาชนปฎิบัติตามผู้เลี้ยงไก่จึงรู้จักใช้ข้าวโพดมากขึ้นกว่าเดิม แต่เนื่องจากระยะนั้นข้างโพดมีราคาสูงและหายาก การใช้ข้าวโพดจึงใช้เป็นเพียงส่วนประกอบของอาหารหลัก ซึ่งมีรำและปลายข้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันผู้เลี้ยงสัตว์รู้จักข้าวโพดกันทั่ว และประเทศไทยได้ปลูกข้าวโพดในปีหนึ่ง ๆ จำนวนไม่น้อย ทั้งนำมาใช้เองและส่งออกต่างประเทศ คิดพื้นที่ ๆ เพาะปลูกเฉลี่ยแล้วตั้งแต่ปี 18 เป็นต้นมา ปลูกไม่ต่ำกว่า8,000,000 ไร่/ปี ปริมาณข้าวโพดที่ผลิตได้ ได้นำมาใช้ภายในประเทศ 10-15% ของที่ผลิตได้ หรือถ้านับรวมทั้งการใช้เลี้ยงสัตว์และค่าเมล็ดพันธุ์เพาะปลูกประมาณ 5-6 แสนตันต่อปี
ชนิดของข้าวโพด
ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์กัวเตมาลา พียี 12(Rep.1) กัวเตมาลา พีบี 12(Rep.2) พีบี 5 ข้าวโพดเหนียว และโอเปค-2 มีเมล็ดตั้งแต่สีขาว สีเหลืองไปจนถึงสีแดง ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 0.5-0.8 ซม. ก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์จึงต้องบดก่อนเพื่อช่วยให้การย่อยและการผสมได้ผลดีขึ้น ที่บดแล้วจะมีขนาดประมาณ 1-8 มม. โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
1. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Corn)
ที่รู้จักในปัจจุบันมีข้าวโพดหัวบุ๋ม(Dent Coorn) และข้าวโพดหัวแข็ง (Fint Corn) ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะเมล็ด
ข้าวโพดหัวบุ๋มหรือหัวบุบ ข้าวโพดชนิดนี้เมื่อเมล็ดแห้งแล้วตรงส่วนหัวบนสุดจะมีรอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็นส่วนของแป้งสีขาว ข้าวโพดชนิดนี้สำคัญมากและนิยมปลูกกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางแถบคอร์นเบลท์ สีของเมล็ดมีตั้งแต่ขาวไปจนถึงเหลือง เนื่องจากมีหลายสายพันธุมีโปรตีนน้อยกว่าพวกข้าวโพดหัวแข็ง
ข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดพันธุ์นี้ส่วนขนสุดของเมล็ดมักมีสีเหลืองจัดและเมื่อแห้งจะแข็งมาก ภายในเมล็ดมีสารที่ทำให้ข้าวโพดมีสีเหลืองจัดเป็นสารให้สีที่ชื่อ คริปโตแซนทีน (Cruptoxanthin) สารนี้เมื่อสัตว์ได้รับร่างกายสัตว์จะเปลี่ยนสารนี้ให้เป็นไวตามินเอ นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยให้ไข่แดงมีสีแดงเข้ม ช่วยให้ไก่มีผิวหนัง ปาก เนื้อ และแข้งมีสีเหลืองเข้มขึ้น เป็นที่นิยมของตลาดโดยเฉพาะแถบอเมริกาส่วนอังกฤษนั้นนิยมใช้ข้าวโพดขาว
2.ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่การแปรรูปเมล็ดมักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ำตาลมากก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น ๆ จึงเรียกข้าวโพดหวาน มีหลายสายพันธุ์
3.ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดค่อนข้างแข็ง สีดีและขนาดแตกต่างกัน สำหรับต่างประเทศ ถ้าเมล็ดมีลักษณะแหลมเรียกว่า ข้าวโพดข้าว (Rice Corn) ถ้าเมล็ดกลม เรียกว่า ข้าวโพดไข่มุก (Pearl Corn)
4. ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn) เมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น ขาว (ขุ่น ๆ หรือปนเหลืองนิด ๆ) หรือสีน้ำเงินคล้ำ หรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน เนื่องจากกลายพันธุ์ พวกที่มีเมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง (Squaw Corn) หรือเรียกได้อีกชื่อว่าข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง (Native Corn) พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซีน สูงกว่าข้าวโพดที่มีแป้งสีขาว
5. ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน จะมีแป้งที่มีลักษณะเฉพาะคือ นุ่มเหนียว เพราะในเนื้อแป้งจะประกอบด้วยแป้งพวกแอมมิโลเปคติน (Amylopectin) ส่วนข้าวโพดอื่น ๆ มีแป้งแอมมิโลส (Amylose) ประกอบอยู่ด้วย จึงทำให้แป้งค่อนข้างแข็ง
วิธีการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ใช้ได้หลายรูปแบบทั้งอาหารหยาบและอาหารข้น การใช้ในรูปอาหารหยาบคือ ใช้ต้น ใบ ซัง ทั้งสภาพสด และแห้งและหมัก
ส่วนอาหารข้นใช้ได้ทั้งเมล็ด ทั้งในรูปแหล่งให้พลังงานและแหล่งเสริมโปรตีน ซึ่งได้จากผลิตภัณฑ์ข้างเคียงจากอุตสาหกรรมแป้งข้าวโพด น้ำมันข้าวโพด และน้ำหวานจากข้าวโพด ซึ่งผลิตภัณฑ์ข้างเคียงเหล่านี้มีหลายชนิด
1.เมล็ดข้าวโพดบด (Ground corn Cracked corn หรือ Corn meal) โดยปกติ หมายถึงเม็ดข้าวโพดที่มีสีออกจากฝักแล้วนำมาบดหรือทำให้แตกออก การบดไม่ควรบดให้ละเอียดเกินไป เพราะสัตว์ไม่ชอบกิน ข้าวโพดที่บดแล้วจะเก็บไว้ได้นานต้องมีความชื้นไม่เกิน 12 % ข้าวโพดบดผสมอาหารได้ดีถึง 70-80 % โดยไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ ถือว่าเป็นอาหารชั้นที่ดี ลักษณะข้าวโพดบดแบบนี้มักนิยมบดใช้เองในฟาร์ม
ในต่างประเทศ ข้าวโพดบดจากกรรมวิธีการผลิตในปัจจุบัน หมายถึงข้าวโพดที่แยกเอาส่วนของเปลือกนอกของเมล็ด (Hull) และส่วนจุดงอกหรือคัพภะ (Germ) ของเมล็ดออกไปแล้วและนำมาบด เมล็ดข้าวโพดบดไม่ควรมีสิ่งแปลกปลอมมากเกิน 4 % สิ่งที่มักปนมาคือ ซังและเปลือกข้าวโพด
สำหรับการเก็บเมล็ดข้าวโพด จะต้องเก็บในลักษณะที่เมล็ดแห้งจริง ๆ เมล็ดข้าวโพดนิยมใช้เป็นอาหารสุกร วัว สัตว์ปีก ม้า ล่อ และแพะ-แกะ และนอกจากนี้ใช้หมักทำแอลกอฮอล์ และประกอบเป็นอาหารคน เล่น ทำแป้งข้าวโพด สกัดเอาน้ำมันข้าวโพด ทำน้ำหวานจากข้าวโพด น้ำตาลหรือน้ำส้มจากข้าวโพด หรือบริโภคในรูปข้าวโพดทั้งฝัก หรือข้าวโพดคั่ว นอกจากจะนิยมรับประทานโดยไม่แปรรูป แล้วอาจนำมาทำเป็นเครื่องกระป๋อง หรือต่างประเทศนิยมแช่แข็งเก็บไว้บริโภค คุณค่าของโภชนะในข้าวโพดที่ปลูกในอเมริกา ค่อนข้างจะแปรปรวนขึ้นอยู่กับพันธุ์ และสถานที่ปลูก ข้าวโพดมีไวตามินเอ สูงมาก แต่มีไวตามินบีรวมต่ำ ก่อนจะบดข้าวโพดต้องเลือกสิ่งแปลกปลอมออก
2.ข้าวโพดบดทั้งฝักโดยแกะเปลือกออกแล้ว (Corn and cob meal หรือ Ground ear corn) โดยปกติจะมีซังติดมาตามธรรมชาติประมาณ 20% เป็นอาหารที่เบาฟ่าม มีกากมากขึ้นเมื่อเทียบกับเมล็ดข้าวโพดบด เหมาะสำหรับแม่โค พ่อโคพันธุ์เนื้อ โคนม ในกรณีที่ใช้ในไก่ไข่และไก่ระยะเติบโตจะให้ผลดีเท่ากับเมล็ดข้าวโพดบดละเอียด เหมาะสำหรับสุกอุ้มท้องเพื่อกันอ้วน แต่ไม่เหมาะสำหรับสุกรขุน แต่ถึงอย่างไรซังข้าวโพดยังมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าฟางข้าว แม้ว่าโปรตีนจะย่อยค่อนข้างยาก เนื่องจากซังข้าวโพดย่อยยาก การบดข้าวโพดทั้งฝัก ถ้าบดละเอียด หมายถึงข้าวโพดต้องสามารถผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ได้ทั้งหมด และผ่านเบอร์ 10 ได้ 50 % บางครั้งจะมีการบดข้าวโพดทั้งฝักโดยไม่แกะเปลือกออก กรณีนี้จะมีเยื่อใยมากขึ้น คุณค่าทางอาหารจะน้อยกว่าที่กล่าวมา
3.เลี้ยงสัตว์โดยใช้ข้าวโพดทั้งฝัก โดยให้สัตว์กินเอาเปลือกออกหรือไม่ก็ตาม และมีอาหารโปนตีน ไวตามิน แร่ธาตุใส่รางต่างหาก ข้าวโพดที่ไม่ได้แกะเปลือกออกจะป้องกันตัวเพลี้ยได้ดี ข้าวโพดทั้งฝักที่เก็บในโรงเก็บจะมีความชื้นประมาณ 14 % ซึ่งในระยะที่ปลิดฝักจะมีความชื้นตั้งแต่ 16-30 % การให้ข้าวโพดทั้งฝักใช้ได้ดีในพวกวัว
4. ซังข้าวโพด อันที่จริงแล้วจัดเป็นอาหารหยาบที่ให้พลังงาน(Cob meal Ground corn cob )
หมายถึง ฝักข้าวโพดที่กะเทาะเปลือกออกแล้วนำมาบดเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่น วัวนม หรือพ่อโค แม่พันธุ์โคเนื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เคี้ยวเอื้องอ้วนเกินไป และยังช่วยเพิ่มปริมาณไขมันนมให้สูงขึ้น เพราะเป็นอาหารที่มีเยื่อใย (กาก) สูงแต่ยังมีคุณค่าสูงกว่าฟางข้าว นิยมใช้เมื่อขาดแคลนหญ้าสด แต่เนื่องจากซังข้าวโพดย่อยยาก ดังนั้น ก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องจะต้อง
4.1 บดจนละเอียด
4.2 มีอาหารเสริมโปรตีนอย่างเพียงพอ (เพื่อช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร)
4.3 ใช้อาหารที่มีแป้งที่ละลายได้หรือย่อยง่ายผสมด้วย
4.4 เสริมแร่ธาตุโดยเฉพาะฟอสฟอรัส ซึ่งสัตว์มักขาดหากใด้รับซังข้าวโพดบดใช้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องได้แต่ไม่เหมาะกับสุกร ไก่ นอกจากนำมาเป็นวัสดุรองพื้นคอก อัตราที่ใช้เลี้ยงวัวได้ผลดีใกล้เคียงกับหญ้าสด คือ 2 กก./ วัน
5.ข้าวโพดบดชนิดหยาบ (Screened cracked corn Screened corn หรือ Screened corn chop)
หมายถึง ข้าวโพดที่ถูกนำมาร่อน เพื่อแยกเอาส่วนที่ละเอียดหรือมีขนาดเล็กออกไป ส่วนที่เหลือจะมีขนาดใหญ่ จึงเรียก สกรีน แครก คอร์น ซึ่งในที่นี้เรียกเป็นข้าวโพดบดชนิดหยาบ ไม่ควรมีสิ่งแปลกปลอมเกิน 4%
6.ปลายข้าวโพด (Corn Grits หรือ Hominy grits) เป็นส่วนที่แข็งมากของเมล็ดขนาดกลางซึ่งอาจมีส่วนของรำและบริเวณที่งอกเป็นต้นข้าวโพด (Germ) ปนมาบ้างเล็กน้อย หรือไม่มีเลย แป้งส่วนที่แข็งมากนี้มีสีเหลืองและสีขาวหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง มีไขมันไม่เกิน 4% ถ้าเมล็ดสีขาวจะเรียก (White corn grits ) ถ้าเป็นสีเหลืองเรียก (Yellow corn Grits)
7.กลุ่มผลิตผลพลอยได้จากการทำแป้งข้าวโพด ในการทำแป้งข้าวโพด จะมีผลพลอยได้หลายชนิด ทั้งที่มีโปรตีนสูง จึงเป็นแหล่งโปรตีน
7.1โฮมินีฟีด (Hominy feed ) เป็นส่วนผสมของรำข้าวโพด ส่วนของเจิร์มและส่วนที่เป็นแป้ง ไม่ว่าจะเป็นสีขาวหรือเหลือง ซึ่งเป็นผลิตผลข้างเคียงจากการผลิต คือเมล็ดข้าวโพดบดที่ขัดเอาส่วนเปลือกผิว และเจิร์มออกไปแล้ว ผู้คนนิยมนำไปต้มบริโภค เรียก ( Table corn meal) โฮมินีฟีดนี้จะมีไขมันอยู่ไม่น้อยกว่า 4%ได้มีการทดลองพบว่ามีไขมันอยู่ตั้งแต่ 4.3-7.8 % ค่า EM ตั้งแต่2618-3366 Kcal ME/kg. ที่ความชื้น 10% ในปัจจุบันโรงงานใช้ระบบเคมีสกัด(Solvent extracted hominy feed ) จะให้พลังงานต่ำกว่านี้ มีคุณค่าอาหารสัตว์ปีกน้อยลง เป็นแหล่งที่มีกรดไขมันลิโนเลอิกมากพอสมควร สามารถใช้แทนข้าวโพดในสูตรอาหารปศุสัตว์ และใช้แทนเมล็ดธัญพืชในสูตรอาหารสัตว์ปีก
7.2 คอร์นแพลนท์พัล์พ (Corn plant pulp) เป็นกากข้าวโพดที่ได้จากการคั้นเอาน้ำข้าวโพดออกไปแล้ว นำมาทำให้แห้ง ส่วนน้ำข้าวโพดนำไปทำน้ำเชื่อมหรือน้ำตาลต่อไป
7.3 ฮีทโปรเสสคอร์น (Heat process cord) คล้ายข้าวโพดบดทั้งฝัก แต่ชื่อเรียกต่างกันตามการทำ โดยนำข้าวโพดทั้งฝักยังไม่แกะเปลือกมานึ่งภายใต้ความดัน หรืออบให้แห้งด้วยความร้อนโดยตรง แล้วบดหรืออัดเม็ด หรือทับเป็นแผ่น แบนๆ เช่น Corn Flake
คุณค่าทางอาหารของข้าวโพด
มีแป้ง 65% เยื่อใยต่ำ มีพลังงานแบบเมตาโบไลซ์ (ME)สูงมีไขมัน 3-6% มีกากไขมันไม่อิ่มตัวสูง มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดไขมันเหลวในสัตว์ได้ โปรตีนรวม 8-13% มีอยู่ 2 ชนิด คือซีนหรือ เซอีน (Zein) ซึ่งพบในเนื้อใน (Endosperm) ในปริมาณมาก แต่โปรตีนชนิดนี้ขาด (Lysine) และ (Tryptophan) ส่วนกลูเทนิน จะพบใน Endosperm น้อย และคัพภะ มีอยู่บ้าง แต่มีส่วนประกอบของ EAA ดีกว่าZein เพราะมีไลซีน และทริปโตเฟน ประกอบอยู่ในปริมาณที่สูงกว่า
นักผสมพันธุ์พืชได้พยายามผสมพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์ข้อบกพร่องเรื่อง EAA ของข้าวโพด และได้พันธุ์ (OpaQue-2) มาแทน บางครั้งเรียก ข้าวโพดไลซีนสูงและยังมีกลูเทลินสูงกว่า เซอีน เมื่อเทียบกับข้าวโพดธรรมดา ถ้าใช้แล้วเสริมด้วยเมไธโอนีน ในอาหารหนู คน สุกร ไก่ จะทำให้ใช้ข้าวโพดดียิ่งขึ้น มีคุณค่าทางอาหารสูงขึ้น
นอกจากนี้มีพันธุ์ฟลาวรี่ –2 ซึ่งเป็นพันธุ์ใหม่ มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า Opaque-2 โดยมีโปรตีนสูงกว่า ส่วนกรดอะมิโน มีEAA หลายตัวสูงกว่าโดยเฉพาะ Methyonine ถึงแม้จะมีบางตัวต่ำกว่าเล็กน้อยก็ตาม

คุณภาพของข้าวพดซึ่งเป็นที่ใฝ่ฝันของนักอาหารสัตว์มานาน Hixon,1947. (อ้างโดยSprague,1970.) ได้สรุปไว้ดังนี้
1.คุณภาพของโปรตีนในส่วน Grem ของข้าวโพดต้องเหมาะสมกับความต้องการของสัตว์ เพราะ 22% ของโปรตีนในข้าวโพด จะมาจาก Germ ดังนั้นการเพิ่มปริมาณ Germ ในเมล็ดจะเป็นการเพิ่มคุณภาพของข้าวโพดด้วย
2.ข้าวโพดไม่ควรมีโปรตีนที่ชื่อ Zein อยู่ เพราะการมี Zein อยู่จะทำให้ปริมาณของ Lysine และ Trytophan ต่ำ การที่ไม่มี Zein จะทำให้ปริมาณของกรดอมิโน 2 ตัวนี้เพิ่มขึ้น
3.พยายามผลิตข้าวโพดพันธุ์ใหม่ที่มี Lysine อยู่ในปริมาณที่สูงขึ้น